โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

LISA BLACKPINK โพสต์ถึงความทรงจำวัยเด็กว่า วันเด็กต้องนี่เลย ทำให้นมหนองโพหาซื้อยาก

THE CAVE – นางนอน หนังหมูป่าติดถ้ำ เริ่มถ่ายทำแล้ว

EM-Electronic Monitoring

EM-Electronic Monitoring


ที่มาของการใช้ EM-Electronic Monitoring
การขอปล่อยชั่วคราวโดยกำหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM-Electronic Monitoring ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราว
ซึ่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2558 ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยชั่วคราว กำหนดให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราว
เพื่อแก้ไขปัญหาความเลื่อมล้ำทางสังคม
ปัญหาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
ปัญหาผู้ถูกดำเนินคดีซึ่งเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยหลบหนีในชั้นปล่อยชั่วคราว
ปัญหาความยากจนไม่มีเงินประกันตัวทำให้คนยากจนถูกควบคุมตัวเกือบทุกกรณี และเสียโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราว ทั้งปริมาณผู้ต้องขังหรือผู้ต้องโทษในเรือนจำมีปริมาณมากจนเกิดความแออัด
เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว สำนักงานศาลยุติธรรมจึงได้จัดให้มีการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบ
หรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมาใช้ในงานปล่อยชั่วคราวได้
Electronic Monitoring หรือที่เรียกว่า อุปกรณ์ EM เป็นอุปกรณืที่สำนักงานศาลยุติธรรมนำมาใช้
เพื่อให้ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจให้เหมาะสมกับประเภทคดีและผู้ต้องหาหรือจำเลยแต่ละคน เพื่อลดปัญหา
ความไม่เท่าเทียมกันในการได้รับการปล่อยชั่วคราวและเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี
มีโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น
เพราะผู้ต้องหาหรือจำเลยที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มีโอกาสได้รับการปล่อยชั่วคราวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก
ผู้ต้องหาหรือจำเลยสามารถขอให้นำอุปกรณ์อิเล็กทรนิกส์ที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราว EM-Electronic Monitoring มาใช้ประกอบ ในการยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวโดยใช้อุปกรณ์ EM และมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้


กรณีมีการแสดงความประสงค์ขอใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ EM-Electronic Monitoring
1. ในคดีมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกินห้าปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  มาตรา 110 วรรคสอง

  • ศาลอาจปล่อยชั่วคราวได้โดยไม่มีประกันหรือมีหลักประกันและหลักประกันด้วยก็ได้
  • กรณีที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนีหรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

-ศาลอาจปล่อยชั่วคราวโดยมีหลักประกันหรืออาจใช้ EM-Electronic Monitoring
-ศาลอาจปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน และให้ใช้ EM-Electronic Monitoring และอาจลดหลักประกันเหลือไม่เกิน 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ของเกณฑ์ประกัน
-และสุดท้ายศาลอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว



2. ในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินห้าปีขึ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 110 วรรคแรก

  • การปล่อยชั่วคราวต้องมีประกันและจะมีหลักประกันด้วยหรือไม่ก็ได้
  • กรณีที่ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเสี่ยงที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี หรือจะไปหยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น

-ศาลอาจปล่อยชั่วคราวโดยมีหลักประกันหรืออาจใช้ EM-Electronic Monitoring
-ศาลอาจปล่อยชั่วคราวโดยมีประกันและหลักประกัน และให้ใช้ EM-Electronic Monitoring และอาจลดหลักประกันเหลือไม่เกิน 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ของเกณฑ์ประกัน
-และสุดท้ายศาลอาจไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว


อันนี้ก็เป็นหลักการคราว ๆ ซึ่งยังมีรายละเอียดปีกย่อยอีกเยอะในการใช้ EM-Electronic Monitoring
ซึ่งในขณะนี้เรียกได้ว่าอยู่ในขั้นทดลองหาข้อดีข้อเสียเพื่อปรับปรุงให้สามารถใช้ EM-Electronic Monitoring ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพในการต่อสู้คดี
ของผู้ต้องหาหรือจำเลย

ความคิดเห็น

  1. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EM ครับ http://www.emc.coj.go.th/doc/data/emc/emc_1532067374.pdf

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น